BACK THE MAIN PAGE

Aida 214


อิ๊ดด้า ( AIDA) ตะเกียงจ้าวพายุ

ตะเกียง Aida เป็นยี่ห้อของเยอรมัน ที่หาข้อมูลรายละเอียดได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร. มีหลายความคิดเห็น รวมทั้งคำแนะนำจาก นักสะสมตะเกียง ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตะเกียง ตั้งแต่ปลายคริสต์ศักราช ที่ 18 ว่าเป็นตะเกียงต้นแบบที่ผลิตขึ้นครั้งแรกของโลกโดย Jacob Hirschhorn อักษรย่อที่ใ ช้ J H (Hirsch = กวาง และ horn = แตร) จึงใช้ กวางและ แตร เป็นสัญญลักษณ์ของเครื่องหมายการค้า

Aida 214 completed

ต่อมาในต้นปีประมาณ คริสต์ศักราช 1900 Ehrich & Graetz, Hugo Schneider AG, J.Hirschhorn and Continental Licht und Apparatebaugesellschaft ได้ร่วมมือกันพัฒนา ตะเกียงอัดลมขึ้น โดยต่างคนก็ใช้เครื่องหมายการค้าของตนเอง


ในยุคที่Aida ผลิตตะเกียงในเยอรมัน ออกมา แล้วส่งขายไปทั่วโลก มักจะตีตรา MADE IN GERMANY ที่ตัวถังน้ำมัน


Aida 214 Lantern

ช่วง แรกตะเกียงของเยอรมันมักจะส่งออกไปทั่วโลก รวมทั้งอาณานิคมในเครือจักรภพอังกฤษ ซึ่งเป็นเวลาคาบเกี่ยวช่วงสงครามโลก ระยะหลังสายสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษและเยอรมันเริ่มเสื่อม อันเนื่องมาจาก สงครามโลก การตั้งฐานการผลิตในเอเซียเพื่อส่งออกมาทางภูมิภาคอินเดียตะวันออก จึงมิได้ตีตราMADE IN GERMANY แต่อย่างไรโรงงานก็ยังคงนำมาปั๊มขึ้นรูปรวมทั้งอะไหล่แต่ตีตรา

Aida 214 Lantern

ต่างยี่ห้อดังจะเห็นได้จากยี่ห้ออื่นๆแต่ลักษณะตะเกียงเหมือนกันมาก อะไหล่บางชิ้นก็สามารถนำมาทดแทนกันได้

อุปกรณ์ อะไหล่ใน Aida 214

1. หัวนอก เป็นทองเหลืองเจาะรูเป็นวงกลมรอบ หมวกบนประทับตรา Aida เจาะรูยึดหมวกกับหัวนอกด้วยน๊อต ทองเหลือง2ตัวด้านในส่วนบนจะมีประกับเหล็กวงกลมเจาะรูรับน๊อตทองเหลือง โดย หัวนอกขอบด้านล่างจะบากเป็นร่องเพื่อล๊อกหัวกระเช้าตะเกียง เพียงแค่ครอบตะเกียงแล้วหมุน ซึ่งรวดเร็วสะดวกกว่าที่หมุนน๊อตล๊อกทั้งสองข้าง

Aida 214 LanternAida 214 Lantern
Aida 214 LanternAida 214 Lantern


2. หัวใน เป็นเหล็กทรงสูง จานกลมแล้วมีช่องสี่เหลี่ยมอยู่ภายใน โดยวิธีใส่ๆลงในช่องด้านในกระเช้า ซึ่งจะมีบ่าเล็กๆรอบคอยรองรับหัวใน กระเช้าหลุม

Aida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 Lantern


3. คอม้า มักจะเป็นท่อ 2 ชิ้นที่มีเกลียวหมุนต่อปลาย


Aida 214 Lantern



ท่อ มีรอยคอด ไม่มีชุดน๊อตปรับปีกผีเสื้อ แต่จะมีครีบเล็กๆ คล้ายๆครีบปลาโลมา โดยใส่ลงไปที่ช่องกลางของหัวใน และใช้น๊อตยึดบน-ล่างเพื่อความแข็งแรง ส่วนของปลายท่อด้านล่างจะมีถ้วยกลมเจาะรูตรงกลางเป็นเหล็ก เพื่อลดเปลว-กันเปลวไฟไปที่ลุกไหม้จากการจุดไปสัมผัสหัวในโดยตรง


Aida 214 Lantern



4. ชุดฝักบัว จะมีฐานรองฝักบัวที่ทำจากทองเหลืองหมุนต่อกับเกลียวของปลายท่อด้านล่างของคอม้า และตัวฝักบัว ซึ่งทำด้วย เซรามิก เจาะรู เพื่อให้เปลวไฟ ลงไปกระทบกับไส้ตะเกียง


Aida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 Lantern


5. ไส้ตะเกียง ใน Aida 214 จะเป็นตะเกียง 500 แรงเทียน

Aida 214 Lantern



6. หลักบนและนมหนู ตีตรา AIDA ปั๊มอักษร AIDDA …214 -232…..MADE IN GERMANY

Aida 214 LanternAida 214 LanternAida 214,Generator

7. แกนเข็มและเข็ม เป็นแท่งกลมปลายทั้ง2ด้านเป็นเกลียวนอก และมีเข็มสี่เหลี่ยมเป็นเกลียวในที่สวมกับแกนเข็ม

Aida 214 Lantern


8. หลักล่าง จะเชื่อมยึดติดกับหม้อตะเกียง ถ้าหากเกิดการอุดตันของหลักล่าง ก็สามารถถอดชุดส่งเข็มออกแล้วใช้เหล็กยาวเรียวแยงลงไปได้ แต่ถ้าเกิดการรั่วซึมที่ท่อปลายหลักล่าง ไม่สามารถถอดได้นอกจากการใช้ไฟเป่าออก เพื่อทำความสะอาดและซ่อมแซม

Aida 214 Lantern


9 . แป้นบิดวาล์วน้ำมัน-แกนส่งเข็ม มีลักษณะเป็นวงกลม มีทั้งสีแดง-ดำ พึงระวังเมื่อใช้ไปนานจะเกิดการยุ่ย เปื่อย แบคคาไลท์ ( พลาสติกสังเคราะห์ในสมัยก่อน )

Aida 214 Lantern


10. หลักยึดเข็ม เป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ บากร่องกลางและด้านล่างเพื่อเป็นตัวบังคับ
ตำแหน่งการขึ้น-ลงของเข็ม

Aida 214 Lantern


11. กระเช้าเป็นทองเหลืองรวมทั้งหูหิ้ว มีแกนยึด

Aida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 Lantern

12. ชุดแป้นสูบลม มีทั้งแบบที่เป็นแกนเหล็ก-แกนทองเหลือง ตัวแป้นจะปั๊มรูปกวางของ
Aida พร้อมลูกยาง เท่าที่พบเห็นตัวแป้น จะมี 3 แบบ ส่วนฝาเกลียว 2 แบบ

Aida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 Lantern

13. วาล์วปิดลม-น้ำมัน มีลักษณะเป็นฝาเกลียวกลม แกน2 ด้านยื่นออกเพื่อใช้มือบิด ด้านบนมีหมุดเกลียวเพื่อกัก-ปล่อยลม หัวค่อนข้างโตกว่าทั่วไป

Aida 214 Lantern


14. เกจ์ลม มีหลายแบบ หลายลักษณะ ทั้งแบบหน้าปัทม์ครึ่งวงกลม และแบบวงกลมเต็มหน้า ตัวเกจ์ลมเท่าที่พบมาก็ยังสามารถแบ่งออกไปเป็นแบบ เกจ์แนวตั้ง และเกจ์แนวขนานนอน

Aida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 Lantern


15. จานยึดกระเช้า สำหรับยึดกระเช้ากับตัวถัง มีน๊อตยึด โดยในรุ่นแรกจำพวก ก้นจีบ
มักใช้น๊อตตัวเล็ก และรุ่นหลัง น๊อตเป็นตัวใหญ่


Aida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 Lantern



16. ถ้วยล่อแอลกอฮอล์ล ไว้ใส่แอลกอฮอล์ล เพื่ออุ่นหลักให้ร้อน

Aida 214 Lantern



17. จานบังแสง หรือ ที่เรียกกันว่า แฉ่ง เป็นจานทรงกลมสีขาวหมดทั้งใบ ที่ขอบด้านในมีเขี้ยวล๊อก

Aida 214,Reflector,Up sideAida 214,Reflector,down sideAida 214Aida 214



แบบลักษณะของตะเกียงต่างๆ Aida 214 จะมีเท่าที่รวบรวม และเห็นผ่านมา

1 . แบบก้นตะเกียงเป็นก้นเรียบ นักสะสมตะเกียงแนวหน้าของไทย เรา เคยกล่าวว่าเป็นแบบแรกๆ

ว่ากันว่า ผลิตออกมาเพื่อใช้ นัยว่าเมื่อใช้ไปนาน สูบลมเข้าไปมากๆ แล้วก้นตะเกียงเกิดอาการป่อง ตุง จึงพัฒนาเป็นรุ่นต่อไป

2. แบบที่ก้นตะเกียง เป็นเส้นแฉก 8 แฉก กลางตะเกียงมีวงกลมเล็กๆอยู่กลาง หรือวงการบ้านเราเรียกว่า ก้นจีบ จัดเป็นรุ่นที่ออกมาแก้ไขปัญหาตะเกียงของ Aida 214 ( มักจะเป็นรุ่นที่ยังไม่มีเกจ์ลม ) ความหนาของขอบก้นถังประมาณ 12.5 – 13 มิลลิเมตร ซึ่งค่อนข้างตื้นบาง แต่เมื่อใช้ไปนานๆ สูบลมเข้าไปมาก ก็เกิดอาการก้นตุงออก รอบก้นตะเกียงปริออก ซึ่ง อาจจะเป็นความบางที่ก้นตะเกียงรุ่นนี้ ซึ่งค่อนข้างจะสัมผัสได้เมื่อกดลงไป แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาอาการตะเกียงก้นตุง มักเป็นที่นิยมของนักสะสมตะเกียง ซึ่งหาได้ไม่ง่ายนัก

Aida 214 Lantern


3. แบบก้นตะเกียงเป็นหลุมตรงกลาง หรือที่เรียกกันว่า ก้นหลุม ความหนาของขอบก้นถังประมาณ 18 มิลลิเมตร เป็นรุ่นค่อนข้างจะไม่ตุงง่ายเหมือนรุ่นก่อนๆ มีการพัฒนาของวัสดุทองเหลืองที่ใช้ มีความหนามากขึ้น เป็นการเสริมความสูงที่ขอบก้นถัง เผื่อว่าถ้าหากเกิดอาการก้นถังตุง อีกทั้งก็ยังได้มีการพัฒนานำเอา เกจ์วัดลมมาเพื่อบอกค่าของแรงดันลมมาใส่ในแทบทุกๆรุ่นในระยะหลังๆ

Aida 214,Bottom


ตำแหน่งของการปั๊มตรา Aida 214 จากภาพจะเห็นได้ มีหลายลักษณะหลายแบบ ตำแหน่งที่ตัวเลข 214 มิน่าจะใช่บ่งบอกแบบรุ่นได้ น่าจะเกิดจากการผิดพลาดของการปั๊มลงตัวถัง แต่ก็สามารถบ่งบอกถึงช่วงระยะเวลาล๊อตที่ผลิตออกมาเสียมากกว่า

Aida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 LanternAida 214 Lantern


นอกจากนี้ ยังพบลักษณะ Aida 214 350 Candle Power. ที่ออกมาให้ยลโฉม นัยว่าเป็นแผนทางการตลาด เป็นทางเลือกอีกทาง มักจะพบได้ในตะเกียงของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่า เป็นต้น

Aida 214 LanternAida 214 Lantern


ปัญหา และจุดอ่อนของ Aida 214 จะเป็นที่หัวนอก ซึ่งมักจะขาด หัก ชำรุด เป็นจุดที่เปราะบางมาก เมื่อมีการจุดตะเกียงไปนานๆ จะหาหัวนอกที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์หาค่อนข้างยาก ปัญหาที่เกิดกับหัวนอกบ้างก็ หลังๆช่างซ่อมตะเกียงได้ทำการยกหัวนอกให้สูงขึ้น โดยต่อเสาขึ้นไป แล้วย้ำหมุด  แลดูโปร่งโล่งดี

ด้านบนของหม้อตะเกียงตำแหน่งที่มีรูน๊อตยึดกระเช้า เนื่องจากตัวทองเหลืองเป็นโลหะที่มีความอ่อนมากกว่าเหล็ก ณ ที่ตำแหน่งนี้ด้านในจะเสริมแผ่นเหล็กกลมอีกชั้นหนึ่งเพื่อรองและให้ความแข็งแรงแก่รูน๊อตยึด

เพราะ เมื่อคราวที่ขันน๊อตล๊อคกระเช้า ตัวน๊อตตัวนี้ ทำหน้าที่รั้ง ให้ความแน่นเพื่อยึดจานกระเช้า ก็จะพลอยยกตัวขึ้นมา นานๆเข้าก็อาจทำให้หม้อมีความล้า เครียด สูงโด่งตามขึ้นมา

ซึ่ง ก็พอจะบ่งบอกได้ว่า การประกอบตัวถังหม้อตะเกียงรุ่นนี้ เป็นไปในลักษณะที่ว่า ปั๊มผลิตหม้อขึ้นมา เจาะรูตรงกลางเพื่อยึดน๊อต โดยใช้แหวน 6 เหลี่ยมขันแน่นด้านนอก แล้วเชื่อตะกั่วเพื่อป้องกันการรั่วซึมอีกชั้นนึง

สำหรับหลักล่างก็เช่นเดียวกัน เจาะรู แล้วเชื่อมตะกั่วยึด

Aida 214,fountAida 214,fountAida 214,upper tube


และท้ายสุดก็เชื่อมปิดก้นถังเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งดูแล้วไม่ง่ายเลยที่จะเชื่อมปิด ต้องมีความเนียน เรียบสวย และไม่รั่วซึม

ตัวอย่างของตะเกียง Aida 214 จากปะเทศเพื่อนบ้าน

Aida ที่ ออกจำหน่ายไปทั่วโลก รวมทั้ง เอเชีย เช่น อินเดีย พม่า ไทย เวียดนาม มาเลเซีย ซึ่งแต่ละประเทศ ผู้แทนจำหน่าย หรือผู้นำเข้า มักจะตีตราในตัวสินค้าด้วย เช่น ไทย ก็มี บริษัท รัตนมาลาจำกัดสินใช้ เป็นผู้แทนจำหน่าย ,เวียดนาม ก็มี MY-QUANG และ พม่า ก็มี RANGOON เป็นต้น

Aida 214 Glass globeAida 214,fount

ผู้แทนจำหน่ายในพม่า

ในเรื่องของตำแหน่งที่วางหลักล่าง เกจ์ลม ชุดสูบปั๊มลม ล้วนแต่มาเจาะคราวหลัง สังเกต จากที่มีรอยเชื่อมมาจากโรงงานเลยทีเดียว ตำแหน่งที่อยู่ของอุปกรณ์ดังกล่าว ส่งผลต่อการเกิดของผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ต่างๆ โดยรากฐานที่สำคัญมีเพียงต้นแบบเดียว

เป็นที่น่าสังเกตว่า Aida ในเยอรมันนั้น ค่อนข้างที่จะหาตะเกียงได้ยาก โดยมักจะกระจายออกไปประเทศต่างๆทั่วโลก ทั้งในเอเซีย เช่น อินเดีย พม่า ไทย เวียดนาม  ฯลฯ ทวีปอเมริกาใต้ อย่าง อาร์เจนติน่า เป็นต้น

ผมยังเขียนไม่จบ ไว้จะมาต่ออีกครับ ตาลาย.... I'll be back..